• หมวดกฏหมาย
  • ตาราง / ประกาศคำสั่ง
  • ICP
  • ค้นหาตามหมวดอักษร
  • ค้นหาด้วยคำ
  • กฏหมายอื่น
  • รวมคำภิพากษาฎีกา
  • คำชีขาดอนุญาโตตุลาการ
  • คู่มือการใช้งาน
  
 
 
  ICP
 
หมวด 1 เงื่อนไขสำหรับความมีประสิทธิภาพของการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย
หมวด 2 ระบบการกำกับดูแล
หมวด 3 องค์กรภายใต้การกำกับดูแล
หมวด 4 การดำเนินการในการกำกับดูแล
หมวด 5 Prudential requirements
 ICP 18 การประเมินและจัดการความเสี่ยง / Risk assessment and management
 ICP 19 การรับประกันภัย / Insurance activity
 ICP 20 หนี้สิน / Liabilities
 ICP 21 การลงทุน / Investments
 ICP 22 ตราสารอนุพันธ์และภาระผูกพันที่คล้ายคลึงกัน / Derivatives and similar commitments
 ICP 23 ความพอเพียงของเงินทุนและความมั่นคงทางการเงิน / Capital adequacy and solvency
หมวด 6 ตลาดและผู้บริโภค
หมวด 7 การต่อต้านการฟอกเงิน และการต่อต้านการให้เงินอุดหนุนต่อการก่อการร้าย

  Support
 
 
มีปัญหาในการเปิดไฟล์ pdf
คลิกดาวน์โหลด Adobe Reader ได้ที่นี่
  Install Adobe Reader
 
มีปัญหาในการแสดงผลหน้าเว็บ
คลิกดาวน์โหลด Flash Player ได้ที่นี่
  Install Adobe Flash Player
 
Home ICP หมวด 5 Prudential requirements ICP 23  
 
 
  หมวด 5 Prudential requirements
 
ชื่อ ICP : ICP 23
เนื้อหา :

ความพอเพียงของเงินทุนและความมั่นคงทางการเงิน
Capital adequacy and solvency

หน่วยงานที่กำกับดูแลต้องกำหนดให้บริษัทประกันภัยปฏิบัติตามมาตรฐานในเรื่องความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งรวมถึงข้อกำหนดเรื่องความพอเพียงขอเงินทุนและรูปแบบของเงินทุนที่บริษัทประกันภัยสามารถนำมารองรับความเสียหายขนาดใหญ่ที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ (to absorb significant unforeseen losses)

คำอธิบาย
          23.1 ความมั่นคงทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญต่อการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยและการคุ้มครองผู้ถือกรมธรรม์ ซึ่งข้อกำหนดเรื่องความพอเพียงของเงินทุนเป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลความมั่นคงทางการเงิน โดยการกำกับดูแลความมั่นคงทางการเงินควรให้การพิจารณา ไม่เฉพาะแต่ในเรื่องความพอเพียงของเงินสำรองทางเทคนิคสำหรับการชดใช้ค่าเสียหายที่ได้คาดการณ์ไว้และที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ในบางส่วน (to cover all expected and some unexpected claims) รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ แต่ยังควรพิจารณาถึงความพอเพียงของเงินทุนในการดูดซับความเสียหายขนาดใหญ่ที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ (to absorb significant unexpected losses) ในส่วนที่เงินสำรองทางเทคนิคไม่ได้รอบคลุมไว้จึงควรมีการนำเงินทุนเพิ่มเติมมาเพื่อมาดูดซับความเสียหายจากความเสี่ยงที่ยังไม่ระบุแน่ชัดนี้ (to absorb losses from risks not explicitly identified)
          23.2 ในการคุ้มครองผู้ถือกรมธรรม์จากความเสียหายอันเกินควร (undue loss) การกำกับดูแลความมั่นคงทางการเงินจำเป็นต้องมีการกำหนด ไม่เฉพาะแต่ในเรื่องความพอเพียงขอเงินทุนขั้นต่ำ (minimum capital adequacy) แต่ยังควรกำหนดระดับในการควบคุมดูแลฐานะความมั่นคง (a solvency control level) โดยอาจกำหนดเป็นระดับเดียวหรือหลายระดับ (series of control levels) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดหรือตัวจุดชนวนสำหรับมาตรการในการกำกับดูแลในระดับต้น ก่อนที่ปัญหาจะทวีความรุนแรงจนมีผลต่อฐานะความมั่นคงของบริษัทประกันภัย ซึ่งรูปแบบของระดับในการควบคุมดูแลอาจยึดตามระดับของเงินทุน หรือมาตรการทางการเงินอื่นๆ ที่แต่ละประเทศใช้ในการกำกับดูแลความมั่นคงทางการเงิน
          23.3 การให้ส่วนหักลดสำหรับการทำประกันภัยต่อในการคำนวณความพอเพียงขอเงินทุนและความมั่นคงทางการเงิน (allowance for reinsurance in a capital adequacy and solvency regime) ควรต้องพิจารณาถึงความมีประสิทธิภาพในการโอนความเสี่ยงและความมั่นคงของบริษัทประกันภัยต่อนั้น ๆ (make allowance for the likely security of the reinsurance counterparty)

          คุณสมบัติที่จำเป็น
          a การกำกับดูแลความมั่นคงทางการเงินควรต้องมีการกำหนดในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
          - การประเมินหนี้สินและภาระผูกพัน ซึ่งรวมถึงเงินสำรองทางเทคนิคประเภทต่างๆ (and the margins contained therein)
          - คุณภาพ สภาพคล่อง และการประเมินสินทรัพย์
          - การจับคู่ระหว่างสินทรัพย์และหนี้สิน (matching of assets and liabilities)
          - รูปแบบของเงินทุนที่เหมาะสม (suitable forms of capital)
          - ข้อกำหนดในเรื่องความพอเพียงของเงินทุน
          b การให้ส่วนหักลดใดๆ สำหรับการลดหรือโอนความเสี่ยง ควรพิจารณาทั้งในแง่ความมีประสิทธิภาพและความมั่นคงของคู่สัญญา
          c ควรมีการกำหนดถึงรูปแบบของเงินทุนที่เหมาะสม
          d ข้อกำหนดในเรื่องความพอเพียงของเงินทุนควรคำนึงถึง (sensitive to) ขนาดความซับซ้อน และความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทประกันภัย รวมทั้งแนวทางปฏิบัติทางบัญชีที่บริษัทประกันภัยต้องปฏิบัติตาม
          e ข้อกำหนดในเรื่องความพอเพียงของเงินทุนขั้นต่ำควรกำหนดให้อยู่ในระดับที่รอบคอบเหมาะสมอย่างพอเพียง (at a sufficiently prudent level) เพื่อเป็นหลักประกัน (reasonable assurance) ถึงการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ถือกรมธรรม์
          f ข้อกำหนดในเรื่องความพอเพียงของเงินทุนควรมีการกำหนดในระดับที่บริษัทประกันภัยมีสินทรัพย์เท่ากันกับผลรวมของหนี้สินและภาระผูกพันต่างๆ และเงินทุนที่กำหนด (required capital) จะต้องสามารถดูดซับความเสียหายขนาดใหญ่ที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ได้
          g ควรมีการกำหนดระดับในการควบคุมดูแลฐานะความมั่นคง (solvency control level) โดยในกรณีที่ฐานะความมั่นคงของบริษัทปรับถึงหรือลดต่ำลงกว่าหนึ่งหรือหลายระดับ (reaches or falls below one or more control levels) หน่วยงานที่กำกับดูแลควรดำเนินมาตรการแทรกแซง (intervenes) และกำหนดให้บริษัทประกันภัยดำเนินการแก้ไข (corrective action) หรือออกมาตรการในการจำกัดขอบเขตการดำเนินธุรกิจของบริษัท (imposes restrictions) ซึ่งระดับในการควบคุมดูแลถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสามารถทำได้อย่างทันท่วงที
          h เรื่องการเพิ่มพูนของเงินทุน (inflation of capital) โดยอาจมีสาเหตุมาจาการมีเงินกองทุนที่เหลื่อมซ้อนกัน (double or multiple gearing) การมีธุรกรรมกันเองภายในกลุ่มธุรกิจ (intra-group transactions) หรือวิธีการอื่นในการให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บริษัทประกันภัยเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มธุรกิจควรมีการพิจารณาถึงในการคำนวณความพอเพียงของเงินทุนและความมั่นคงทางการเงิน
          I การกำกับดูแลความมั่นคงทางการเงินควรพิจารณารวมถึงข้อกำหนดต่างๆ สำหรับบริษัทประกันภัยที่ดำเนินธุรกิจผ่านสาขา (The solvency regime addresses the requirements placed upon an insurer operating through a branch)

 
 
 
 
 
 
 
 
© สงวนลิขสิทธิ์ 2554 สมาคมประกันวินาศภัย คุณเข้าชมเป็นลำดับที่ :